วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เปรียบเทียบประตู ร็อท ไอร์ออน กับ ประตูสแตนเลส ที่ผสมไม้

วันนี้ ผมได้นำภาพ ประตู ผสมไม้ ระหว่าง ประตูโครง ร็อท ไอร์ออน กับ ประตูโครง สแตนเลส ลองเทียบดูครับ ความอ่อนช้อย อารมณ์ได้รับจากประตูครับ

ประตู ร็อท ไอร์ออน ผสม ไม้



ประตู สแตนเลสผสมไม้


วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ร็อท ไอร์ออน ประตูเล็ก

ประตูเล็ก เหล็ก ร็อท ไอร์ออน 

ประตูเล็ก เหล็ก ร็อท ไอร์ออน 


วันนี้ขอฝากผลงานติดตั้งประตูเล็ก เหล็ก ร็อท ไอร์ออน มาให้ชมครับ ถ้าสนใจ รายละเอียด
แบบลาย ทั้ง ประตู รั้ว ราวบันได เชิญชมได้ที่ www.cibthai.com หรือ โทรสอบถามได้ที่ 02-701-3158-9

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554






























วันนี้ฝากรูปแบบบันไดแปลกๆ จากมติชนออนไลน์ครับ ลองชมกันดูครับ

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แนะนำ ร็อท ไอร์ออน ราวบันได ชุด ซีร็อคโค

วันนี้ ผมขอแนะนำ ราวบันได ร็อท ไอร์ออน ชุด ซีร็อคโค ด้วยรูปแบบที่ได้แนวคิดจาก
ลมซีร็อคโค ซึ่งเป็นลมที่พัดหอบเอาความฝู่นทราย จากทางตอนเหนือของทวีปอัฟาริกา
ผ่านทะเลเมอริเตอเรเนียมนำความชุ่มชี้นเข้าทางตอนใต้ทวีปยุโรป ลักษณะของลมคล้าย
กับเงื่อนเชือก เช่นเดียวกับ ร็อท ไอร์ออนชุดนี้ ที่ใช้ความสามารถของช่างเหล็ก ผสมผสาน
ศิลปะและเทคโนโลยี นำจินตนาการนี้ผ่านความชำนาญอันคล้ายดั่งพรสวรรค์ ร้อยรัด
บิดเกลียวเหล็กให้ได้ตามจินตนาการที่ต้องการ ดุจคำพูดของหนังสือวรรณกรรมจีนว่า
 

 
"ความสงบสยบความเคลื่อนไหว" ดูแบบได้ที่
http://www.flickr.com/photos/cib-news/collections/72157626857816800/

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์ ร็อท ไอร์ออน ตอนที่ 3

ยุคบาร็อค (Baroque) ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นประมาณศตวรรษที่ 16 นี้ ศิลปะในยุคนี้เน้นถึงความละเอียด อ่อนของส่วนประกอบต่างๆของศิลปะ ในขณะเดียวกัน ร็อท ไอร์ออนในยุคนั้นสามารถมีคุณสมบัติของความมีคาร์บอนต่ำ ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอนเพียง 0.04% เหตุนี้เอง ร็อท ไอร์ออนจึงอ่อนและง่ายต่อการตอบสนองศิลปะในยุคนี้มาก

ในปัจจุบันนี้ แม้มีวิทยาการมากมายซึ่งทำให้งานศิลปะง่ายมากขึ้น แต่ก็ยังเป็นที่ยอมรับว่าช่างเหล็กยังเป็นคนทำงานศิลปะผู้ซึ่งสามารถเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานในรูปนามธรรม Jean Tijou ช่างเหล็กชาวฝรั่งเศสดำรงชีพในประเทศอังกฤษในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ถึงต้นศตวรรษที่ 17นั้น ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวินในสมัย ของกษัตริย์ วิลเลี่ยมที่ 3 (William III) โดยผลงานที่เขาทำที่ Hampton Court Palace

ในระหว่างยุค นีโอคลาสิค (ปลายศตวรรษที่ 18 ถึง ต้นศตวรรษที่ 19) ความต้องการงานศิลปะเหล็กเริ่มลดน้อยลง อาคารบ้านเรือนถูกออกแบบโดยใช้เส้นตรง เรียบง่ายซึ่งตรงกันข้ามกับงานศิลปะทั่วไป จากนี้เองเป็นครั้งแรกของ ช่างเหล็กผู้ซึ่งถูกใช้งานตามคำสั่งของมัณฑนากรโดยปราศจากการสร้างสรรค์ของตนเอง ทำให้เขาในฐานะเสมือนนักศิลปะทั่วไปนั้นถูกถอดถอนไป
เหล็กหล่อในยุคนั้นก็เฟื่องฟูมากจึงเป็นตัวเร่งให้งานศิลปะด้านร็อท ไอร์ออน ถดถอยไปมาก อย่างไรก็ดี ปลายศตวรรษนี้เอง รัสกิน และ มอริส (Ruskin and Morris) นักศิลปะในอังกฤษเริ่มเผยแพร่แนวความคิดของRomantic ซึ่งแนวคิดนี้เชื่อว่าสามารถทำให้แนวศิลปะทำมือเกิดขึ้นใหม่ภายใต้การเกิดอีกครั้งของศิลปกรทำมือ หลายโรงงานใน Boulanger ประเทศฝรั่งเศส สถาปนิก Violet –le Duc ได้ชุบชีวิตของงานศิลปะร็อท ไอร์ออนโดยให้มีเอกลักษณ์และมีชีวิตชีวาใหม่อีกครั้ง. 
 

  ในยุค Art Nouveau หรือ Floral (Liberty) เกิดขึ้นปลายศตวรรษที่18 จนถึงประมาณปี 1920-1930นั้น ในยุคนี้ การใช้ลายเส้นของธรรมชาติมาเสริมแต่งช่องว่างในงานสถาปัตยกรรม แล้วก็เป็นโอกาสอีกครั้งของงานศิลปะเหล็ก โดยวิทยาการสมัยใหม่ อาทิเช่น การใช้เครื่องจักรไอน้ำ การเชื่อมโดยแก๊ส เป็นต้น งานสถาปัตยกรรมได้เปิดช่องให้งานศิลปะเหล็กในรูปแบบของ ประตู ระเบียง ราวบันได ฉากกั้น ซึ่งลวดลายนั้นประกอบไปด้วย ดอกไม้ ผลไม้ ปลา และ นก เป็นต้น จวบจนปัจจุบันนี้ งานศิลปะเหล็กก็ยังคงแพร่หลายเกี่ยวข้องการงานสถาปัตยกรรมและการตกแต่งทั่วไป เหตุเพราะเหล็ก ร็อท ไอร์ออนนั้น มีส่วนประกอบของคาร์บอนต่ำมาก จึงทนต่อการสึกกร่อน ด้วยความอ่อนในตัวของร็อท ไอร์ออนนั้น จึงแทบไม่ข้อจำกัดสำหรับงานสร้างสรรค์ศิลปะเหล็กเลย ส่วนการบำรุงรักษานั้น ผลิตภัณฑ์ ร็อท ไอร์ออนนั้น สำหรับการเกิดสนิมนั้นอาจจะเกิดจากบริเวณจุดที่เชื่อมต่อกัน และ บริเวณที่ถูกกระแทกทำให้สีนั้นกะเทาะออกมา วิธีแก้ไขชั่วคราวคือ ใช้กระดาษทรายหรือแปรง ขัดบริเวณนั้นให้ถึงเนื้อเหล็ก แล้วปัดเช็คทำความสะอาดบริเวณนั้น แล้วทาสีหรือใช้ปากกาเคมีทาปิดเคลือบเพื่อไม่ให้เหล็กเกิดการอ๊อกซิเดชั่นกับอากาศเท่านั้นเอง
เปรียบเทียบกับวัสดุอื่นซึ่งนำมาใช้กับงานศิลปะนั้น เช่น Cast Iron เหล็กหล่อ หรือ อัลลอย (Alloy) กรรมวิธีของการทำงานประเภทนี้คือ ทำพิมพ์ขึ้นมาก่อนแล้วหลอมวัสดุนั้นให้เป็นของเหลว เทลงพิมพ์ที่เตรียมไว้ ข้อเสียของวัสดุที่ทำด้วยวิธีนี้คือ ฟองอากาศ ซึ่งบางครั้งการเทพิมพ์นั้น ถ้าพิมพ์มีสิ่งของแปลกปลอมเล็กๆอยู่ ก็จะทำให้บริเวณนั้นเป็นรูพรุน หรือเกิดขึ้นเช่นเดียวกับกรณีวัสดุเหลวนั้นไปไม่ทั่วพิมพ์ จุดนี้เองจะเป็นจุดเปราะของงานประเภทนี้ พร้อมทั้งข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ วัตถุดิบที่ใช้หลอมนั้น ถ้าเป็นเหล็กหรืออัลลอยคุณภาพดี งานที่หล่อออกมานั้นก็มีคุณภาพดีเช่นเดียวกับวัตถุดิบที่ใช้ 

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์ ร็อท ไอร์ออน ตอนที่ 2




ร็อท ไอร์ออนเ ป็นรูปแบบของเหล็กที่มีส่วนประกอบของคาร์บอนต่ำมากซึ่งสามารถหลอม และหลอมอีกและยังสามารถตีจากสภาพที่เป็นก้อนได้ ร็อท ไอร์ออนไม่เหมือนเหล็กหล่อ (Cast Iron) ซึ่งไม่แตกบิ่นง่าย ความสามารถในการดัดโค้งและถูกเชื่อมได้ง่ายมาก ดังนั้น ร็อท ไอร์ออนจึงถูกใช้สำหรับงานศิลปะที่ต้องการความละเอียดและความยุ่งยากของลายเส้นเหล็ก

การใช้ร็อท ไอร์ออนสำหรับงานศิลปะที่เป็นส่วนประกอบและตกแต่งนั้นต้องการทักษะและศิลปะของช่างอย่างสูง ซึ่งเหตุผลนี้เองทำให้ช่างเหล็กนั้นได้รับความยกย่องและยอมรับความสามารถในการดัดเหล็กซึ่งแข็งไปตามลวดลายเส้นของสิ่งที่ต้องการ เขาเองยังได้รับการประพฤติเยี่ยงเขาเป็นผู้วิเศษซึ่งความสามารถพิเศษในการใช้ไฟและน้ำในการเปลี่ยนแร่ธาตุ (เหมือนการเล่นแปรธาตุ) จากความสามารถควบคุมแปรความแข็งแกร่งของเหล็กเป็นตามที่เขาต้องการได้ดังผู้วิเศษเขาจึงได้รับการยอมรับในสังคมอยู่ในระดับเดียวกับหมอและนักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้น

ในสมัยแรกเริ่มนั้น ช่างเหล็กจะถูกใช้งานไปในแง่ของผู้ผลิตอาวุธ แต่เมื่อถึงสมัยโรมันนั้น ช่างเหล็กถูกใช้งานเพิ่มขึ้นในการผลิตเครื่องใช้มากขึ้น อาทิเช่น เหล็กเคาะประตู (door knocks) ที่ล็อคประตู (door locks) บานพับ (hinges) และเครื่องมือสำหรับงานบ้านและการเกษตร

ในสมัยบาบิเลี่ยน (Barbarian)รุกรานอาณาจักรโรมันนั้น แม้ชาวบาบิเลี่ยนนั้นจะไม่เจริญด้านกฎหมาย ศิลปะ การสร้างถนน และสถาปัตยกรรม แต่ก็มีทักษะในการทำงานที่เกี่ยวกับเหล็กมาก งานสวยงามได้ถูกผลิตโดย ชนชาติลองโกบาดส์ (Longobardes) ชาวอิตาเลี่ยนโบราณที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือของประเทศอิตาลี และเป็นครั้งแรกที่เหล็กถูกนำมาใช้ในแง่ของเครื่องประดับที่มีลวดลายบนผิว ประมาณปี คศ. 1000 งานศิลปะเหล็กถูกนำมาใช้ในงานสถาปัตยกรรมก่อสร้างโบสถ์ (มหาวิหาร วินเชสเตอร์ในประเทศอังกฤษ และ ในประเทศฝรั่งเศส)

ในยุคนั้น โบสถ์ได้กลายเป็นโรงเรียนและแรงจูงใจสำหรับงานศิลปะร็อท ไอร์ออนเพื่อเป็นการรับใช้ศาสนจักร และเป็นสิ่งพิเศษสุดในการนำความสัมพันธ์ระหว่างพระกับช่างเหล็กผู้เร่ร่อนช่างเหล็กได้กลายเป็นผู้มีเกียรติในการรับใช้ชุมชนในการสร้างศาสนาจักร การผลิตงานศิลปะเหล็กในขณะนั้นก็ยังเป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก ปกติแล้ว การเผาเหล็กจะตั้งใกล้เหมืองมากโดยการนำเหล็กเข้าเผาในเตาที่ทำด้วยดินเหนียว เตาประเภทนี้เรียกว่า เตาไฟต่ำ

ใน คาทาโลเนีย (Catalonia) บริเวกใกล้บาซาโลน่า ประเทศสเปน ได้มีการสร้างเตาที่ขุดรูเข้าไปในดินและใช้หลอมเหล็ก ซึ่งผลของการหลอมเหล็กนี้ จะสามารถทำให้เหล็กเป็นแท่งได้ (ingots) เตาประเภทนี้ถูกเรียกว่า เตาคาทาโลเนีย (Catalonian Ovens)
จนกระทั่ง ปลายศตวรรษที่ 13 ในประเทศเยอรมันได้เริ่มประดิษฐ์เตาเผาในแนวตั้งซึ่งมีการยาแนวระหว่างอิฐเพื่อเก็บความร้อน มีรูปเป็นแนวยาวและใช้น้ำอยู่ภายใต้เตาเป็นตัวพาอากาศเข้าไป จากนี้เอง จึงทำให้ผลผลิตการหล่อเหล็กมากขึ้น ซึ่งเป็นการเริ่มต้น
ของการผลิตเหล็กหล่อในปริมาณมาก

ในขณะนั้นเอง ประเทศอื่นๆ สถาปัตยกรรม ก็แพร่หลายอย่างต่อเนื่อง ในทัสคานี (Tuscany) เริ่มมีโรงเรียนของนักคิดและ
ศิลปกรเกิดขึ้นที่เรียกว่า ยุค เรเนซอง (Renaissance) ในศตวรรษที่ 15-16นี้เอง ส่วนสำคัญของการพัฒนาในห้วงระยะเวลานี้คือ ภาพวาดและสถาปัตยกรรมมีการใช้ในแบบ perspective หรือภาพมีมิตินั่นเองอย่างสมบูรณ์ ศิลปกรและสถาปนิกเริ่มร่วมมือกับช่างเหล็กผู้ซึ่งถูกมองในฐานะระดับเดียวกับศิลปกรทั่วไป