วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์ ร็อท ไอร์ออน ตอนที่ 3

ยุคบาร็อค (Baroque) ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นประมาณศตวรรษที่ 16 นี้ ศิลปะในยุคนี้เน้นถึงความละเอียด อ่อนของส่วนประกอบต่างๆของศิลปะ ในขณะเดียวกัน ร็อท ไอร์ออนในยุคนั้นสามารถมีคุณสมบัติของความมีคาร์บอนต่ำ ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอนเพียง 0.04% เหตุนี้เอง ร็อท ไอร์ออนจึงอ่อนและง่ายต่อการตอบสนองศิลปะในยุคนี้มาก

ในปัจจุบันนี้ แม้มีวิทยาการมากมายซึ่งทำให้งานศิลปะง่ายมากขึ้น แต่ก็ยังเป็นที่ยอมรับว่าช่างเหล็กยังเป็นคนทำงานศิลปะผู้ซึ่งสามารถเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานในรูปนามธรรม Jean Tijou ช่างเหล็กชาวฝรั่งเศสดำรงชีพในประเทศอังกฤษในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ถึงต้นศตวรรษที่ 17นั้น ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวินในสมัย ของกษัตริย์ วิลเลี่ยมที่ 3 (William III) โดยผลงานที่เขาทำที่ Hampton Court Palace

ในระหว่างยุค นีโอคลาสิค (ปลายศตวรรษที่ 18 ถึง ต้นศตวรรษที่ 19) ความต้องการงานศิลปะเหล็กเริ่มลดน้อยลง อาคารบ้านเรือนถูกออกแบบโดยใช้เส้นตรง เรียบง่ายซึ่งตรงกันข้ามกับงานศิลปะทั่วไป จากนี้เองเป็นครั้งแรกของ ช่างเหล็กผู้ซึ่งถูกใช้งานตามคำสั่งของมัณฑนากรโดยปราศจากการสร้างสรรค์ของตนเอง ทำให้เขาในฐานะเสมือนนักศิลปะทั่วไปนั้นถูกถอดถอนไป
เหล็กหล่อในยุคนั้นก็เฟื่องฟูมากจึงเป็นตัวเร่งให้งานศิลปะด้านร็อท ไอร์ออน ถดถอยไปมาก อย่างไรก็ดี ปลายศตวรรษนี้เอง รัสกิน และ มอริส (Ruskin and Morris) นักศิลปะในอังกฤษเริ่มเผยแพร่แนวความคิดของRomantic ซึ่งแนวคิดนี้เชื่อว่าสามารถทำให้แนวศิลปะทำมือเกิดขึ้นใหม่ภายใต้การเกิดอีกครั้งของศิลปกรทำมือ หลายโรงงานใน Boulanger ประเทศฝรั่งเศส สถาปนิก Violet –le Duc ได้ชุบชีวิตของงานศิลปะร็อท ไอร์ออนโดยให้มีเอกลักษณ์และมีชีวิตชีวาใหม่อีกครั้ง. 
 

  ในยุค Art Nouveau หรือ Floral (Liberty) เกิดขึ้นปลายศตวรรษที่18 จนถึงประมาณปี 1920-1930นั้น ในยุคนี้ การใช้ลายเส้นของธรรมชาติมาเสริมแต่งช่องว่างในงานสถาปัตยกรรม แล้วก็เป็นโอกาสอีกครั้งของงานศิลปะเหล็ก โดยวิทยาการสมัยใหม่ อาทิเช่น การใช้เครื่องจักรไอน้ำ การเชื่อมโดยแก๊ส เป็นต้น งานสถาปัตยกรรมได้เปิดช่องให้งานศิลปะเหล็กในรูปแบบของ ประตู ระเบียง ราวบันได ฉากกั้น ซึ่งลวดลายนั้นประกอบไปด้วย ดอกไม้ ผลไม้ ปลา และ นก เป็นต้น จวบจนปัจจุบันนี้ งานศิลปะเหล็กก็ยังคงแพร่หลายเกี่ยวข้องการงานสถาปัตยกรรมและการตกแต่งทั่วไป เหตุเพราะเหล็ก ร็อท ไอร์ออนนั้น มีส่วนประกอบของคาร์บอนต่ำมาก จึงทนต่อการสึกกร่อน ด้วยความอ่อนในตัวของร็อท ไอร์ออนนั้น จึงแทบไม่ข้อจำกัดสำหรับงานสร้างสรรค์ศิลปะเหล็กเลย ส่วนการบำรุงรักษานั้น ผลิตภัณฑ์ ร็อท ไอร์ออนนั้น สำหรับการเกิดสนิมนั้นอาจจะเกิดจากบริเวณจุดที่เชื่อมต่อกัน และ บริเวณที่ถูกกระแทกทำให้สีนั้นกะเทาะออกมา วิธีแก้ไขชั่วคราวคือ ใช้กระดาษทรายหรือแปรง ขัดบริเวณนั้นให้ถึงเนื้อเหล็ก แล้วปัดเช็คทำความสะอาดบริเวณนั้น แล้วทาสีหรือใช้ปากกาเคมีทาปิดเคลือบเพื่อไม่ให้เหล็กเกิดการอ๊อกซิเดชั่นกับอากาศเท่านั้นเอง
เปรียบเทียบกับวัสดุอื่นซึ่งนำมาใช้กับงานศิลปะนั้น เช่น Cast Iron เหล็กหล่อ หรือ อัลลอย (Alloy) กรรมวิธีของการทำงานประเภทนี้คือ ทำพิมพ์ขึ้นมาก่อนแล้วหลอมวัสดุนั้นให้เป็นของเหลว เทลงพิมพ์ที่เตรียมไว้ ข้อเสียของวัสดุที่ทำด้วยวิธีนี้คือ ฟองอากาศ ซึ่งบางครั้งการเทพิมพ์นั้น ถ้าพิมพ์มีสิ่งของแปลกปลอมเล็กๆอยู่ ก็จะทำให้บริเวณนั้นเป็นรูพรุน หรือเกิดขึ้นเช่นเดียวกับกรณีวัสดุเหลวนั้นไปไม่ทั่วพิมพ์ จุดนี้เองจะเป็นจุดเปราะของงานประเภทนี้ พร้อมทั้งข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ วัตถุดิบที่ใช้หลอมนั้น ถ้าเป็นเหล็กหรืออัลลอยคุณภาพดี งานที่หล่อออกมานั้นก็มีคุณภาพดีเช่นเดียวกับวัตถุดิบที่ใช้